รูปที่ 1 แสดงรูปเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี
(ที่มา.. http://www.comsimple.com)
2.1 เมนบอร์ดคืออะไร
เมนบอร์ด (Main Board) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มาเธอร์บอร์ด (Mother Board) ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่เป้นหัวใจสำคัญสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่ใช้สำหรับการติดตั้งหรือต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเมนบอร์ดนั้น ก็คือการเชื่อมโยงของสายไฟ ไปยังอุปกรณ์ที่อยู่บน M/B มากมาย หากสังเกตลายทองแดงบนปริ้นของเมนบอร์ดแล้ว ก็จะเป็นในส่วนของทางเดินของสัญญาณแทบทั้งสิ้นเสมือนเป็นถนนสำหรับลำเลียงสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะแล้วกับข้อมูลที่เป็นส่วนสำคัญที่สุด ช่องทางเดินของสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ รวมเรียกว่า "ระบบบัส" ระบบบัสที่เหมาะสมจะต้องเร็วพอที่ะยอมให้อุปกรณ์อื่นๆ รับและส่งข้อมูลผ่านได้ด้วยข้อมูลผ่านได้ด้วยความเร็วเต็มความสามารถของอุปกรณ์นั้น เพื่อจะได้ไม่เป็นตัวคอยถ่วงให้การทำงานของอุปกรณ์อื่นช้าตามลงไปเพราะอุปกรณ์ที่ช้ากว่า
2.2 ความเป็นมาของเมนบอร์ด
พัฒนาการของเมนบอร์ดมีมาตั้งแต่ครั้งไอบีเอ็มออกแบบพีซีในปี 2524 โดยพัฒนาขนาดรูปร่างของเมนบอร์ดมาใช้กับเครื่องรุ่นพีซี และต่อมายังพัฒนาใช้กับรุ่นเอ็กซ์ที
ครั้นถึงรุ่นเอที ก็ได้หาทางสร้างขนาดของเมนบอร์ดใหมีมาตรฐานขึ้น โดยเฉพาะเครื่องทีพัฒนาต่อมาจะใช้ขนาดของเมนบอร์ดเอทีเป็นหลัก
จนเมื่อพัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้ามามาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเมนบอร์ดยิ่งมีความสำคัญจะกระทั่งถึงประมาณปี พ.ศ. 2538 หรือขณะนั้นพีซีกำลังก้าวสู่รุ่นเพนเทียม บริษัทอินเทลได้เสนอขนาดของเมนบอร์ดแบบมาตรฐานและเรียกว่า ATX ซึ่งใช้งานกันจนถึงทุกวันนี้
จากขนาดของ ATX ก็มีพัฒนาการต่อเพื่อทำเครื่องให้มีขนาดกะทัดรัดขึ้น โดยลดขนาดของเมนบอร์ดลงและเรียกว่า MicroATX และลดลงอีกรูปที่ชื่อ FlexATX
เมนบอร์ดแบบ ATX ลักษณะสำคัญของ ATX เมนบอร์ด ATX มีขนาด 12 นิ้ว x 9.6 นิ้ว เป็นขนาดที่มาตรฐานที่สามารถถอดใส่เปลี่ยนกันได้ และเพื่อให้เมนบอร์ดถอดเปลี่ยนกันได้ การออกแบบเมนบอร์ดจึงต้องคำนึงถึงขนาดและตำแหน่งของรูที่ยึดติดกับแท่น และการวางลงในตำแหน่งตัวเครื่อง (กล่อง) ได้อย่างพอดี ขนาดของ ATX ได้รับการออกแบบมาเพื่อมีขนาดพอเหมาะที่จะใส่ของที่สำคัญและจำเป็นได้ครบ ตั้งแต่ซีพียู สล็อตขยายระบบการจัดวางอุปกรณ์ต้องให้ตำแหน่งได้ลงตัวและไม่ยุ่งยากในเรื่องสายเคเบิ้ลที่จะเชื่อมบนบอร์ด
1.ซ็อกเก็ตซีพียู
ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่ ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
จนเมื่อพัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้ามามาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในเมนบอร์ดยิ่งมีความสำคัญจะกระทั่งถึงประมาณปี พ.ศ. 2538 หรือขณะนั้นพีซีกำลังก้าวสู่รุ่นเพนเทียม บริษัทอินเทลได้เสนอขนาดของเมนบอร์ดแบบมาตรฐานและเรียกว่า ATX ซึ่งใช้งานกันจนถึงทุกวันนี้
จากขนาดของ ATX ก็มีพัฒนาการต่อเพื่อทำเครื่องให้มีขนาดกะทัดรัดขึ้น โดยลดขนาดของเมนบอร์ดลงและเรียกว่า MicroATX และลดลงอีกรูปที่ชื่อ FlexATX
เมนบอร์ดแบบ ATX ลักษณะสำคัญของ ATX เมนบอร์ด ATX มีขนาด 12 นิ้ว x 9.6 นิ้ว เป็นขนาดที่มาตรฐานที่สามารถถอดใส่เปลี่ยนกันได้ และเพื่อให้เมนบอร์ดถอดเปลี่ยนกันได้ การออกแบบเมนบอร์ดจึงต้องคำนึงถึงขนาดและตำแหน่งของรูที่ยึดติดกับแท่น และการวางลงในตำแหน่งตัวเครื่อง (กล่อง) ได้อย่างพอดี ขนาดของ ATX ได้รับการออกแบบมาเพื่อมีขนาดพอเหมาะที่จะใส่ของที่สำคัญและจำเป็นได้ครบ ตั้งแต่ซีพียู สล็อตขยายระบบการจัดวางอุปกรณ์ต้องให้ตำแหน่งได้ลงตัวและไม่ยุ่งยากในเรื่องสายเคเบิ้ลที่จะเชื่อมบนบอร์ด
ความคล่องตัวของการใส่อุปกรณ์ลงในสล็อต ใส่ซีพียู ติดพัดลม และช่องขยายพอร์ต มีพอร์ตที่จำเป็นพร้อมขยายเพิ่มได้ เช่น พอร์ตอนุกรม พอร์ตขนาน พอร์ตมาตรฐานต่างๆ พอร์ต USB พอร์ต TV in/out
ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงช่องทางการไหลของอากาศเพื่อระบายความร้อน และลดเสียงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการใส่อุปกรณ์ต่างๆ ลงไปบนบอร์ด เช่น พัดลม บนบอร์ดรับสายเชื่อมรองกับแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงซึ่งปัจจุบันใช้มาตรฐาน + - 5 โวลต์ + - 12 โวลต์ และ 3.3 โวลต์ อีกทั้งระยะห่างจะต้องเหมาะสมเพื่อการประกอบได้ง่าย
เมนบอร์ดแบบ Micro ATX เป็นเมนบอร์ดที่ลดขนาดลงโดยมีขนาดเพียง 9.6 นิ้ว x 9.6 นิ้ว จุดประสงค์คือ ต้องการให้ตัวกล่องบรรจุมีขนาดเล็กลง แต่จากที่ขนาดเล็กลงจำเป็นต้องลดพื้นที่ในส่วนของจำนวนสล็อตต่างๆ ทำให้เครื่องที่ใช้เมบบอร์ด แบบ MicroATX มีขีดความสามารถในการขยายระบบได้จำกัด และในปี พ.ศ. 2542 อินเทลได้พัฒนารุ่นเมนบอร์ดใหม่ที่มีขนาดเล็กลงไปอีก โดยใช้ชื่อรุ่นว่า FlexATX โดยมีขนาดเมนบอร์ดเพียง 9 นิ้ว x 7.5 นิ้ว เพื่อให้มีขนาดเครื่องพีซีมีขนาดเล็กลงไปอีก
2.3 ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
รูปที่ 2 ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
(ที่มา.. http://www.comsimple.com)
1.ซ็อกเก็ตซีพียู
รูปที่ 2.1 ซ็อกเก็ตซีพียู
(ที่มา.. http://www.comsimple.com)
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายนอก ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง
1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล 400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
|
สรุปท้ายบท
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อนมาก หากเมนบอร์ดมีปัญหาก็จะทำให้อุปกรณ์อื่นๆในระบบทำงานผิดพลาดไปด้วย การเลือกซื้อเมนบอร์ดควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เช่น ในอนาคตจะมีการเพิ่มอุปกรณ์อะไรบ้าง หรือจะใช้ซีพียูยี่ห้อใด ควรมีการประมาณการไว้ล่วงหน้าจะทำให้สามารถใช้เมนบอร์ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการเปลี่ยนเมนบอร์ด เป็นเรื่องยุ่งยากมาก เช่น หากใช้เมนบอร์ดที่รองรับซีพียู อินเทล แล้วจะเปลี่ยนไปใช้ซีพียู เอเอ็มดี ก็ต้องเปลี่ยนทั้งเมนบอร์ดและซีพียู จะเปลี่ยนแต่ซีพียูไม่ได้เพราะเมนบอร์ดไม่รองรับ เป็นต้น
เพาเวอร์ซัพพลายทำหน้าที่แปลงไฟฟ่้าจากไฟ 220V เป็นไฟฟ้าขนาด 250-400W และจ่ายกระแสไฟให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ หากเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายกระแสไฟฟ้าผิดพลาดหรทอจ่ายให้น้อยเกินกว่าที่ระบบต้องการก็จะทำให้อุปกรณ์ในระบบคอมพิวเตอร์เสียหายได้ จะให้ดีควรติดตั้งระบบสำรองไฟ เช่น UPS เอาไว้ในเขตที่ไฟฟ้าดับหรือไฟตกบ่อยๆ ก็จะช่วยยืดอายุของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ดีทีเดียว
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อนมาก หากเมนบอร์ดมีปัญหาก็จะทำให้อุปกรณ์อื่นๆในระบบทำงานผิดพลาดไปด้วย การเลือกซื้อเมนบอร์ดควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เช่น ในอนาคตจะมีการเพิ่มอุปกรณ์อะไรบ้าง หรือจะใช้ซีพียูยี่ห้อใด ควรมีการประมาณการไว้ล่วงหน้าจะทำให้สามารถใช้เมนบอร์ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการเปลี่ยนเมนบอร์ด เป็นเรื่องยุ่งยากมาก เช่น หากใช้เมนบอร์ดที่รองรับซีพียู อินเทล แล้วจะเปลี่ยนไปใช้ซีพียู เอเอ็มดี ก็ต้องเปลี่ยนทั้งเมนบอร์ดและซีพียู จะเปลี่ยนแต่ซีพียูไม่ได้เพราะเมนบอร์ดไม่รองรับ เป็นต้น
เพาเวอร์ซัพพลายทำหน้าที่แปลงไฟฟ่้าจากไฟ 220V เป็นไฟฟ้าขนาด 250-400W และจ่ายกระแสไฟให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ หากเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายกระแสไฟฟ้าผิดพลาดหรทอจ่ายให้น้อยเกินกว่าที่ระบบต้องการก็จะทำให้อุปกรณ์ในระบบคอมพิวเตอร์เสียหายได้ จะให้ดีควรติดตั้งระบบสำรองไฟ เช่น UPS เอาไว้ในเขตที่ไฟฟ้าดับหรือไฟตกบ่อยๆ ก็จะช่วยยืดอายุของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ดีทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น