วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 5 ฮาร์ดดิสก์

5.1 บทนำ
            “ฮาร์ดดิสก์” เป็นอุปกรณ์ที่รวมเอาองค์ประกอบทั้งกลไกลการทำงานและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วการอธิบายของฮาร์ดดิสก์นั้นถือว่าได้ง่ายภายในฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter หลายแผ่นหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่นขึ้นอยู่แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อต่างกันไป เมื่อผู้ใช้พิมพ์คำสั่งให้กับคอมพิวเตอร์ทำงานแขนกลของฮาร์ดดิสก์ จะรอรับคำสั่งและเคลื่อนที่ไปยังส่วนที่ถูกต้องของแพล็ตเตอร์ (Platter) เมื่อถึงที่หมายก็จะทำการอ่านข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์นั้น หัวอ่านจะอ่านข้อมูลและส่งไปยัง ซีพียูจากนั้นไม่นานข้อมูลที่ต้องการก็จะปรากฏ การทำงานเขียนอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะมีการทำงานคล้ายกับการทำงานของเทปคาสเซ็ท
5.2 การทำงานของฮาร์ดดิสก์
            แพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสก์นั้นจะเคลือบไปด้วยวัตถุจำพวกแม่เหล็ก ที่มีขนาดความหนาเพียง 2-3 ในล้านส่วนของนิ้ว แต่จะแตกต่างจากเทปทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์นั้นจะใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่านและเขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ส่วนเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อสร้างรูปแบบแม่เหล็กบนสื่อ ที่เคลือบอยู่บนแพล็ตเตอร์ซึ่งเท่ากับเป็นการเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ การอ่านนั้นก็จะแปลงสัญญาณรูปแบบแม่เหล็กที่บันทึกอยู่บนฮาร์ดดิสก์กลับแล้วเพิ่มสัญญาณแล้วทำการประมวลผล ให้กลับมาบันทึกข้อมูลอีกครั้งอีกจุดที่แตกต่างกันของการเก็บข้อมูลระหว่างออดิโอเทปกับฮาร์ดดิสก์นั้นก็คือเทปจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อกแต่สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้นจะเก็บในรูปแบบสัญญาณดิจิตอลโดยจะเก็บเป็นเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ฮาร์ดดิสก์จะเก็บไว้ใน Track หรือเส้นวงกลมโดยจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ด้านนอกสุดของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นจึงไล่เข้ามาด้านในสุด โดยฮาร์ดดิสก์จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสุ่มเข้าถึงข้อมูลได้ คือการที่หัวอ่านสามารถเคลื่อนที่ไปอ่านข้อมูลบนจุดใดในฮาร์ดดิสก์ก็ได้ไม่เหมือนกับเทปเพลงที่หากจะต้องการฟังเพลงถัดไปเราจะต้องกรอเทปไปยังจุดเริ่มต้นของเพลงนั้น
            หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์นั้นสามารถบินอยู่เหนือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทันทีที่ได้รับตำแหน่งมาจากซีพียูซึ่งการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์สามารถทนที่เทปในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์นั้นสามรถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้านของแพล็ตเตอร์ ถ้าหัวอ่านนั้นอยู่ทั้งสองด้านดังนั้นฮาร์ดดิสก์ที่มีแพล็ตเตอร์อยู่สองแผ่นนั้นสามารถมีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลได้ถึงสี่ด้าน และหัวอ่านเขียนสี่หัวการเคลื่อนที่ของหัวอ่านเขียนนั้นจะมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมๆกันโดยจะมีการเคลื่อนที่ที่ตรงกัน Track วงกลมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่า Sector

รูปที่ 1  การทำงานของฮาร์ดดิสก์
5.3 การเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์
            การเขียนข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์นั้นจะเริ่มเขียนจากรอบนอกสุดของฮาร์ดดิสก์ก่อนจากนั้นเมื่อข้อมูลใน Track นอกสุดถูกเขียนจนเต็มหัวอ่านจะเคลื่อนมายังแทร็กถัดมาที่ว่างแล้วทำการเขียนข้อมูลต่อไป ซึ่งก็ด้วยวิธีการนี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงเป็นอย่างมากเพราะหัวอ่านเขียนสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า ในตำแหน่งหนึ่งก่อนจะเคลื่อนที่ไปยังแทร็กถัดไป
            ด้วยความเร็วขนาดนี้ทำให้หัวอ่านเขียนขนาดเล็กสามารถลอยหรือบินอยู่เหนือพื้นผิวได้หัวอ่านเขียนหัวนั้นได้รับการออกแบบให้บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์ที่กำลังหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูงนี้ในความสูงเพียง 3 ล้านส่วนของนิ้วซึ่งเท่ากับระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนและแพล็ตเตอร์นั้นมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของเราหรือแม้กระทั่งฝุ่นมาก หากเกิดการกระแทรกอย่างรุนแรงขึ้นกับฮาร์ดดิสก์จนทำให้หัวอ่านเขียนสัมผัสกับแผ่นแพล็ตเตอร์ก็จะทำให้พื้นผิว หรือหัวอ่านเขียนเกิดการเสียหาย ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาข้อมูลเสียหาย หรือโชคร้ายก็คือฮาร์ดดิสก์พังอย่างแก้ไขไม่ได้
5.4 การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
            การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้นมีลักษณะเดียวกับแผนที่ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ในแทร็กบนแพล็ตเตอร์ดิสก์ไดร์ฟทั่วๆไปจะมีแทร็กประมาณ 2,000 แทร็กต่อนิ้ว Cylinder จะหมายถึงกลุ่มของ Track ที่อยู่บริเวณหัวอ่านเขียนบนทุกๆแพล็ตเตอร์ ในการเข้าอ่านข้อมูลนั้นแต่ละแทร็กจะถูกบังออกเป็นย่อยๆเรียกว่า Sector กระบวนการในการจัดการดิสก์ให้มีแทร็ก และเซกเตอร์เรียกว่า การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์
            ในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการฟอร์แมตมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยปกติเซกเตอร์จะมีขนาดเท่ากับ 512 ไบต์ คอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลที่ได้รับการฟอร์แมตนี้ เหมือนกับที่นักท่องเที่ยวใช้แผนที่ในการเดินทาง คือใช้ระบุว่าข้อมูลใดอยู่ที่ตำแหน่งใดบนฮาร์ดดิสก์ ดังนั้น หากฮาร์ดดิสก์ไม่รับการฟอร์แมต เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะไม่รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บตำแหน่งใด และจะนำข้อมูลมาได้จากที่ไหนในการออกแบบฮาร์ดดิสก์แบบเก่านั้นจำนวนเซกเตอร์ต่อแทร็กจะถูกกำหนดตายตัว เนื่องจากพื้นที่แทร็กบริเวณขอบนอกนั้นมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณขอบในของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นพื้นที่สิ้นเปลืองของแทร็กด้านนนอกจึงมากกว่า

รูปที่ 2  การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
5.5 การทำงานของหัวอ่าน-เขียน
หัวอ่าน/เขียนของฮาร์ดดิสก์เป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงมากที่สุด ละลักษณะของมันก็มีผลกระทบอย่างยิ่งกับประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์โดยรวม หัวอ่าน/เขียนจะเป็นอุปกรณ์แม่เหล็ก มีรูปร่างคล้ายตัว “C” โดยมีช่องว่างอยู่เล็กน้อยโดยจะมีเส้นคอยล์พันอยู่รอบหัวอ่าน/เขียนเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การเขียนข้อมูลจะใช้การส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคอยล์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่แพล็ตเตอร์ ส่วนการอ่านข้อมูลนั้นจะรับค่าความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กผ่านคอยล์ที่อยู่ที่หัวอ่าน/เขียนแปลงค่าที่ได้รับเป็นสัญญาณส่งไปยังซีพียูต่อไปเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปความหนาแน่นของข้อมูลก็ยิ่งมากขึ้นในขณะที่เนื้อสำหรับเก็บข้อมูลจะลดลงขนาดของบิตของข้อมูลที่เล็กนี้ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นแล้วส่งไปยังหัวอ่านนั้นอ่อนลงและอ่านได้ยากขึ้นด้วยเหตุนี้ทางผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องวางหัวอ่านให้กับสื่อมากขึ้นเพื่อลดการสูญเสียสัญญาณ จากเดิมในปี 1973 ที่หัวอ่าน/เขียนบินอยู่ห่างสื่อประมาณ 17 micro inch ( ล้านส่วนของนิ้ว)  มาในปัจจุบันนี้หัวอ่าน/เขียนบินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์เพียง 3 micro inch เหมือนกับการนำเครื่องบิน โบอิ้ง 747 มาบินด้วยความเร็วสูงโดยบินห่างพื้นเพียง 1 ฟุต เท่านั้นแต่ที่สำคัญคือหัวอ่าน/เขียนนั้นไม่เคยสัมผัสกับแผ่นแพล็ตเตอร์ ที่กำลังหมุนอยู่เลยเมื่อเครื่องถูกปิด ฮาร์ดดิสก์จะหยุดหมุนแล้วหัวอ่าน/เขียนจะเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยและหยุดอยู่ตรงนั้นซึ่งแยกอยู่ต่างหากจากพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล
5.6 การเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์
            ข้อมูลที่เก็บลงแผ่นเรียกว่า เซกเตอร์ หรือแทรกส์ แทรกส์เป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นรูปเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทรกส์
            แทรกส์แสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีน้ำเงิน ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆเซกเตอร์รวมกันรัยกว่า พลัสเตอร์ ขั้นตอนฟอร์แมตที่เรียกว่าการฟอร์แมตระดับต่ำเป็นการสร้างแทรกส์และเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูงไม่ได้ไปยุ่งกับแทรกส์หรือเซกเตอร์แต่เป็นการเขียนFATซึ่งป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมลเท่านั้น
5.7 ระยะเวลาการอ่านหรือหาข้อมูล (Seek Time)
            คือระยะเวลาที่แขนยืดหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็กของข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ซึ่งในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ จะมีแทร็กข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็กในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็กที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อ ๆ ไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็กเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็กก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็กติด ๆ ไปในแทร็กที่ อยู่ติด ๆ กันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็กที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็กที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ ฮาร์ดดิสก์จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของฮาร์ดดิสก์เสมอ ปกติ แล้วมักมีการเรียกรุ่นของฮาร์ดดิสก์ตามระดับความเร็ว Seek time ของตัว ฮาร์ดดิสก์เอง เช่นมีการเรียกฮาร์ดดิสก์ ที่มี Seek time 14 ms ว่า ฮาร์ดดิสก์ 14 ms” ซึ่งก็แสดงให้ทราบว่า ฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้น ๆ มีความเร็วของ Seek time ที่ 14 ms  แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติการทำงานทางด้านความเร็วของฮาร์ดดิสก์เสมอ ปกติแล้วมากมีการเรียกรุ่นของฮาร์ดดิสก์ตามความเร็ว Seek time ของตัวฮาร์ดดิสก์เอง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการใช้ค่าความเร็ว Seek time กำหนดระดับชั้นของฮาร์ดดิสก์จะสะดวก แต่ค่า Seek time ก็ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมด ของฮาร์ดดิสก์ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัวไดร์ฟเท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential) ดังนั้น ให้ใช้ค่า seek time เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในการตัดสิน ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์เท่านั้น
Head Switch Time
     เป็นเวลาสลับการทำงาของหัวอ่านเขียน แขนยึดหัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ ที่อยู่ในแนวตรงกัน อย่างไรก็ตามหัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวเท่านั้นที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลา ในการสลับกันทำงาน ของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยหน่วย ms
Cylinder Switch Time
     เวลาในการสลับไซลินเดอร์ สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียน จะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือไซลินเดอร์ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง ไซลินเดอร์จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจากไซลินเดอร์หนึ่งไปยัง ไซลินเดอร์อื่น ๆ เวลาในการสลับไซลินเดอร์จะวัดด้วยหน่วย ms
Rotational Latency
     เป็นช่วงเวลาในการอคอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายใน การหมุนภายในฮาร์ดดิสก์จะเกิดขึ้นเมื่อหัวอ่าน เขียนวางตำแหน่ง อยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสมระบบการทำงาน ของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัด ด้วยหน่วย ms เช่นเดียวกัน แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที)

ส่วนประกอบหลักของฮาร์ดดิสก์                                                                                                                   
·                   จาน็็ฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter)
·                   หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ (Read/Write Head)
·                   แขนที่ใช้ขับเคลื่อนหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ (Head Arm/Head Slide)
·                   มอเตอร์ที่ใช้หมุนจานฮาร์ดดิสก์ (Spindle Motor)
·                   ตัวดักจับไฟฟ้าสถิต (Spindle Ground Strep)
·                   แผนวงจรการควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (Logic Board)
·                   ส่วนที่ใช้กรองอากาศ (Air Filter)
·                   สายสัญญาณและ connecter  (Cables and connectors)
·                   กลไกลที่ขับเคลื่อนหัวฮาร์ดดิสก์ (Head Actuator Mechanism)
·                   Jumper ที่ใช้จัดตั้ง Configuration ของฮาร์ดดิสก์
·                   รางและอุปกรณ์เสริมการติดตั้งฮาร์ดดิสก์
·                   แผงวงจร Head Amplifier
·                   ชุด Voice Coil
·                   สาย Pair Ribbon ที่เชื่อมระหว่างหัวฮาร์ดดิสก์ กับ Logic Board
5.9 พาร์ติชันฮาร์ดดิสก์
            พาร์ติชัน คือ การแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เป็นส่วน ๆ หรือแบ่งเป็นหลาย ๆไดร์ฟ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและโปรแกรม และยังทำให้การเจัดเก็บข้อมูลมีความเป็นระเบียบ นอกจากนี้ก็เพื่อแยกข้อมูลสำคัญต่างๆออกจากระบบปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยจาก virus ได้ในระดับหนึ่งเพื่อให้ง่ายต่อการกู้ข้อมูล และกู้ระบบปฏิบัติการด้วย โดยปกติเราควรแบ่งพาร์ติชั่นอย่างน้อยเป็น 2 ไดร์ฟ คือ C และ D (ไดร์ฟ C สำหรับติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ส่วน ไดร์ฟ D สำหรับเก็บข้อมูล หรือเพื่อสำรองข้อมูล) ประโยชน์ของการแบ่งฮาร์ดดิสก์เป็นส่วนๆ หรือเป็น partition ก็อย่างเช่น เมื่อมีการใช้งาน Windows ไปสักพักหนึ่ง แล้วระบบ windows เกิดมีมีปัญหาแบบแก้ไม่ได้ ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือการ format ฮาร์ดดิสก์ แล้วลง windows ใหม่และติดตั้งโปรแกรมใหม่ ดังนั้นถ้ามีไดร์ฟเดียว จะทำให้มีปัญหาของข้อมูลที่เราต้องการสำรอง
5.10 ประเภทของพาร์ติชัน
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.Primary Partition
เป็นพาร์ติชันหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับในการบูตเข้าระบบคอมพิวเตอร์ พาร์ติชันหลักจะหมายถึง drive C:
2.Extended Partition
พาร์ติชันเสริม เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรม เมื่อมีการสร้าง extened partition จะเกิด Logical Partition อัตโนมัติ โดยเราสามารถแบ่งเป็นพาร์ติชันย่อย ๆ ได้ และสามารถกำหนด drive ได้ตั้งแต่ D จนถึง Z การสร้าง extended partition จะสร้างได้ ต้องสร้างหลัง primary partition แล้วเท่านั้น
3.Logical Partition
เป็นพาร์ติชันที่อยู่ภายใต้ extened partition จะเกิด logical partition ได้ต่อเมื่อมีการสร้าง extened partition ก่อนเท่านั้น
เวลาสร้าง partition จะใช้โปรแกรมชื่อ Fdisk.exe หรือ partition Magic ช่วยในการสร้าง
5.11 ปัญหาของฮาร์ดดิสก์
          ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่าบอบบางมากที่สุดตัวหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ การกระทบกระเทือนหรือมีแรงกระแทรกแม่เพียงเบาๆ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ได้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์แล้วส่วนใหญ่จะไม่สามารถซ่อมแซมให้เหมือนเดิมหรือเป็นปกติได้ ยิ่งถ้ามีข้อมูลที่สำคัญๆ เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์แล้วโอกาศที่จะได้ข้อมูลตัวเดิมกลับมาแล้วยิ่งเป็นไปได้ยากทีเดียว
          การที่ฮาร์ดดิสก์เกิดการขัดข้อง หรือข้อความเตือนมานั้น เป็นปัญหาที่สร้างความสงสัยเป็นอย่างมากสำหรับฮาร์ดดิสก์ เมื่อเกิดปัญหาแล้วควรแก้ไขปัญหา และวิเคราะห์อย่างมีหลักการ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์ให้ใช้ประโยชน์ได้นาน ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิด มีดังนี้
5.11.1 ปัญหาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ของฮาร์ดดิสก์
อาการที่พบ:ฮาร์ดดิสก์ไม่หมุน หลอดไฟไดร์ฟไม่ติด มอเตอร์ของฮาร์ดดิสก์หมุนแต่มีข้อความที่แสดงว่าหาฮาร์ดดิสก์ไม่เจอปรากฏบนหน้าจอ
วิธีแก้ปัญหา:
ตรวจสอบการจ่ายไฟให้กับไดร์ฟ +12V (สายไฟสีเหลือง) +5V (สายไฟเส้นสีแดง)
ตรวจสอบการติดตั้งสายสัญญาณ(ตรวจสอบสภาพสายของ            Pair Hard Diskเพื่อหาจุดบกพร่องของสาย เช่น สายขาดใน)
ตรวจสอบ CMOS  Setup เพื่อแน่ใจว่าท่านได้กำหนด หัวข้อที่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ถูกต้องหรือไม่
ตรวจสอบสายสัญญาณ IDE Interface (ใช้ Logic Probe วัดที่ขา 39 ซึ่งควรเห็นสัญญาณ Pulse Low 1 ครั้งหลังจากที่นับ RAM บนหน้าจอเสร็จ) หากไม่มีสัญญาณที่ขา 39 ปัญหามาจากแผนวงจรบนตัวฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงาน
5.11.2 มองเห็นฮาร์ดดิสก์มีปฏิกิริกยาแต่ไม่ยอมบูต
อาการที่พบ:โดยทั่วไปเป็นปัญหา Drive Failure Boot Sector  Failure DOS/Windows File Corruption
วิธีแก้ปัญหา:
          ตรวจสอบสายสัญญาณ
          ตรวจสอบ CMOS  Setup
ตรวจสอบ Boot Sector
ตรวจสอบดู MBR ด้วย FDISK/MBR
ตรวจสอบดู Drive และ Controller
5.11.3 มีเสียงดังผิดปกติมาจากตัวฮาร์ดดิสก์
อาการที่พบ: ขณะเปิดเครื่องใช้งานและฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงานลักษณะนี้ อาจมีเสียงคล้ายโลหะกระทบกันเป็นจังหวะ
วิธีการแก้ปัญหา:
ปิดเครื่องและฮาร์ดดิสก์มาเขย่าเบาๆในแนวนอน(ระวังอย่าหลุดมือ)แล้วลองฟังเสียงผิดปกติที่เกิดขึ้น สังเกตว่ามีเศษวัสดุกระทบภายในหรือไม่
ติดตั้งฮาร์ดดิสก์กลับไปที่เดิมแล้วเปิดเครื่องจากนั้นลองเอามือสัมผัสกับแรงแรงสะเทือนภายในฮาร์ดดิสก์หากมีความหนักแน่น และเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอแสดงว่าปัญหาเกิดจากกระแสไฟฟ้า Actuator บกพร่อง
ปัญหาที่เกิดกับฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่ถ้าอู่ในเงื่อนไขการรับประกันฮาร์ดดิสก์ ก็ต้องรีบเคลมกับทางร้านที่ซื้อมาโดยเร็ว ส่วนมากร้านที่รับเคลมจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่จะไม่ซ่อมเนื่องจากว่าฮาร์ดดิสก์ถ้าเอาไปซ่อมแล้วจะไม่สามารถซ่อมได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
5.12 การบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการดูแลรักษาเนื่องจากว่าฮาร์ดดิสก์ต้องการหมุนด้วยความเร็วสูงอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องถ้าไม่ดูแลรักษาอยู่เสมอก็อาจจะเกิดปัญหากับฮาร์ดดิสก์ได้ วิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
· ควรทำ Defragmenters อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่าน/ เขียนข้อมูล
· หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
· ควรมี UPS เพื่อป้องกันขณะไฟดับกำลังทำงาน
· ควรรอให้ฮาร์ดดิสก์หยุดการทำงานก่อนการปิดเครื่องทุกครั้ง
· ควรมี UPS ที่มีวงจรรักษาแรงดันไฟ เพื่อป้องกันไฟกระชาก ขณะฮาร์ดดิสก์กำลังทำงาน
· กรณีที่เครื่อง PC วางอยู่ใต้โต๊ะ ระวังอย่าให้เท้าไปกระแทรกกับตัวเคสขณะที่เครื่องทำงาน
· กรณีต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องเสียง โทรทัศน์ อุปกรณ์ทุกตัวควรมีสายไฟต่อกราวด์ด้วย
· กรณีที่มีฮาร์ดดิสก์มากกว่า 1 ตัว และมี CD-Rom ด้วย แนะนำให้ใช้ Power Supply อย่างน้อย 300 วัตต์ (ที่ได้มาตรฐาน) เช่น CD, TUV, FC เป็นต้น
· แนะนำให้ใช้สาย IDE ชนิด 80 เส้น เพราะทนต่อสัญญาณรบกวนดีกว่า แบบ 40เส้น
· อย่าสัมผัสแผงวงจรด้วยมือ หรือวัสดุอื่นใด
· ใช้คีมปากคีบในการถอด หรือติดตั้ง Jumper
·  ไม่ควรถอด Seashell ออกขณะที่ทำงานเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ หรือมีการเคลื่อนย้าย
·  ต้องใส่ฮาร์ดดิสก์ไว้ใน Seashell เสมอทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายหลีกเลี่ยงการกระแทรกทุกชนิดถอด Connector ออกด้วยความระมัดระวัง อย่าโยกซ้าย-ขวา เพราะกรณีที่ Connector ชำรุดแตก/หัก จะต้องมีค้าใช้จ่ายเคลมสินค้า
·  บิด Power ทุกครั้งและรอให้ฮาร์ดดิสก์หยุดหมุนก่อนการถอดฮาร์ดดิสก์
·  ติดตั้งด้วยความระมัดระวัง อย่าให้บาร์โค้ดด้านข้างฉีกขาด โดยเฉพาะกรณีที่เคสแคบมากๆ ควรทำการขยายให้กว้างก่อน
· การยึดฮาร์ดดิสก์เข้ากับเคส ควรขันนอตด้วยมือก่อน แล้วจึงใช้ไขควงหมุนให้แน่น


สรุปท้ายบท
            ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีความบอบบางในการใช้งานมาก ซึ่งถ้ามีอะไรมากระทบกระเทือนหรือกระแทรก ก็อาจเกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่ปัจจุบันมีกำลังของการหมุนหัวอ่านค่อนข้างเร็วเช่น 7,200 รอบต่อนาที หรือ 10,000 รอบต่อนาที ฮาร์ดดิสก์จำพวกนี้จะทำงานหนักกว่าฮาร์ดดิสก์ที่หมุนด้วยความเร็วรอบ 5,400 ต่อนาทีแน่นอน ดังนั้นการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์อยู่เป็นประจำก็จะทำให้อายุการทำงานของฮาร์ดดิสก์ยาวนานขึ้น
            ปัจจุบันระยะเวลาในการรับประกันฮาร์ดดิสก์สั้นลงมากจากเดิม 3 ปี เหลือแค่ 1 ปีเท่านั้นเพราะฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่เสียบ่อยที่สุดตัวหนึ่งในคอมพิวเตอร์เลยทีเดียวดังนั้นบางกรณีการซื้อฮาร์ดดิสก์อาจจะต้องมีการเพิ่มเงินบางส่วนในกรณีขอระยะเวลารับประกันเพิ่มจากเดิม ซึ่งเป็นวิธีการลดความเสี่ยงในกรณีฮาร์ดดิสก์เสียหายได้ดีทีเดียว







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น