วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 7 โมเด็มและการ์ดแสดงเสียง


พื้นฐานความรู้ที่ควรมี
            1. อธิบายความหมายของการทำงานของโมเด็มได้
            2. อธิบายถึงชนิดของโมเด็มและการ์ดเสียงได้
            3. สามารถบอกถึงขั้นตอนการทำงานของโมเด็มและการ์ดเสียงได้

7.1 บทนำ
            โมเด็ม หรือ Modem ย่อมาจากคำว่า Modulation/Demodulation มีหน้าที่หลักคือ ทำการแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณเสียง และแปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นสัญญาณดิจิตอลหรือทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ก็คือทำการแปลงข้อมูลต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียง เพื่อให้สามารถส่งออกไปทางคู่สายโทรศัพท์ โดยที่ปลายทางก็จะมี Modem ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงที่ได้ กลับมาเป็นข้อมูลต่างๆ เหมือนเดิมได้
            ประโยชน์ที่เห็นจะใช้งานกันค่อนข้างมาก คือการนำมาใช้สำหรับส่งข้อมูลต่างๆ หรือใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต ยิ่งเป็นโมเด็มที่สมีความเร็วสูงๆ เช่น Modem ADSL ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบันสามารถส่งข้อมูลได้ถึง 128 KBPS ซึ่งจะทำให้สามารถส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ เช่น ไฟล์ภาพยนตร์ ไฟล์เพลง หรือไฟล์ข้อมูลปริมาณมากๆ ได้ในเวลาไม่กี่วินาที


รูปที่ 1 แสดงภาพโมเด็มแบบภายนอกกับแบบภายใน (ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/modem.html)

7.2 การติดต่อสื่อสารของโมเด็ม


รูปที่ 2 แสดงการติดต่อสื่อสารของโมเด็ม (ที่มา : http://pongsakorn210018.blogspot.com/2013/07/modem.html)
            เมื่อคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณดิจิตอลผ่านโมเด็ม โมเด็มก็จะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอลนั้นให้กลายเป็นสัญญาณอนาล็อค เราเรียกวิธีการนี้ว่าการโมเลต แล้วจึงส่งสัญญาณที่โมดูเลตแล้วนั้นไปที่สายโทรศัพท์เมื่อพึงปลายสาย โมเด็มฝั่งผู้รับก็จะทำการเปลี่ยนสัญญาณอนาล็อคให้กลายเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งซึ่งเราเรียกวิธีการนี้ว่าการดีโมดูเลต

7.3 มาตรฐานต่างๆ ของโมเด็ม
            สมัยแรกๆ โมเด็มที่มีใช้งาน จะมีความเร็วแค่เพียง 1,200 bps เท่านั้น และได้มีการพัฒนาความเร็วให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ความเร็วของโมเด็มจะอยู่ที่ 56 Kbps มาตรฐานของโมเด็มแต่ละรุ่นตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงมาตรฐานของโมเด็ม
มาตรฐานของโมเด็ม
Baud Rate
Bit Rate
V32.bis
2,400
7,200/9,600/12,000/14,400
V.fast, V.FC
2,400
28,800
V.34
2,400
28,800
V.34+2
2,400
33,600
X2
2,400
57,600
K56 Flex
2,400
57,600
V.90
2,400
57600
            * Baud Rate คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของลูกคลื่นสัญญาณ โดยมากจะมีค่าเป็น 2,400
            * Bit Rate คืออัตราการส่งข้อมูล ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้จริง

            ในส่วนของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6 Kbps หรือที่เห็นเป็น 56 Kbps นั้น ความจริงแล้วจะมีอัตราการรับข้อมูลได้สูงสุด ไม่เกิน 56 Kbps และสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดเพียงแค่ประมาณ 33.6 Kbps เท่านั้น
            นอกจากนี้ หากการเชื่อมต่อโมเด็มในแบบ 56 Kbps โดยมีการต่อผ่านระบบ PABX หรือระบบในโทรศัพท์ตู้สาขาต่างๆ (เช่น ตามหอพักหรือโรงแรม) จะสามารถเชื่อต่อด้วยความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 33.6 Kbps เท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่า ระบบ PABX จะมีการลดทอนระดับสัญญาณต่างๆ ลงไปอีก หากต้องการต่อใช้งานให้ได้ความเร็วใกล้เคียงกับ 56 Kbps ก็ต้องต่อโดยใช้ สายโทรศัพท์ ที่เป็นสายตรงจากชุมสายโทรศัพท์เท่านั้น

7.4 มาตรฐานของ X2, K56 Flex และ V.90
            ครั้งแรกที่มีการคิดมาตรฐานของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6 Kbps หรือที่เรียกว่า 56 Kbps จะมีอยู่ 2 มาตรฐานที่เกิดขึ้นมาก่อน แต่ไม่สามารถใช้งานด้วยกันได้ นั้นคือ X2 และ 56K Flex ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโมเด็มของทั้งสองมาตรฐานนี้ จะต้องใช้งานกับ ISP ที่รองรับระบบนั้นๆ เท่านั้น ต่อมาเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้และการทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งได้มีมาตรฐาน V.90 เกิดขึ้นสำหรับการใช้งานในความเร็ว 56 Kbps ซึ่งโมเด็มหลายๆ ยี่ห้อก็จะมีความสามารถ Upgrade จากระบบเดิมให้เป็นแบบ V.90 ได้ด้วย ดังนั้นหากจะเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งานในปัจจุบัน ควรเลือกยี่ห้อหรือรุ่นที่รองรับมาตรฐาน V.90 ไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการใช้งาน

7.5 การแบ่งประเภทของโมเด็ม
            สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
            1. Internal
            2. External
            3. PCMCIA
            7.5.1 Internal Modem
                     Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือ PCI

รูปที่ 3 แสดงโมเด็มแบบภายใน หรือ Internal
(ที่มา : http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/webnot/index63.htm)
            ข้อดีก็คือ
            1. ไม่เปลืองเนื้อที่ ไม่เกะกะ
            2. ราคาถูก
            3. ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงต่างหาก เปิดเครื่องใช้งานได้ทันที เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้ว
            4. ไม่มีปัญหากับเครื่องคอมรุ่นเก่าที่มีชิป UART ที่มีความไวต่ำ เพราะการทำงานไม่ผ่าน Serial Port
            5. ส่งถ่ายข้อมูลได้สูงกว่าแบบที่อยู่ในภายนอก
            ข้อเสียคือ
            1. ติดตั้งยากกว่าแบบ ภายนอก
            2. เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อนในเครื่อง
            3. เสียงสล็อตของเครื่องไปหนึ่งสล็อต
            4. เคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องอื่นได้ยาก
            5. ติดตั้งได้เฉพาะเครื่องคอมฯ แบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ Notebook ได้

            7.5.2 External Modem
                     External Modem เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port อาจจะเป็นที่ Com1 หรือ Com2 ของเครื่องคอมพิวเตอร์


รูปที่ 4 แสดงโมเด็มแบบภายนอก หรือ External Modem
(ที่มา : http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/webnot/index63.htm )
            ข้อดีคือ
            1. สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ง่าย
            2. ติดตั้งได้ง่ายกว่า
            3. ไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก
            4. สามารถใช้งานกับเครื่อง Notebook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม
            ข้อเสีย
            1. มีราคาแพง
            2. เกะกะ
            3. เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย
            4. เสียพอร์ต Serial หรือ Parallel Port ไปหนึ่งอัน
            5. หากใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าจะทำให้ความไวต่ำเนื่องจากชิป UART ของเครื่องรุ่นเก่ามีความไวต่ำ
            7.5.3 PAMCIA Modem
                     PAMCIA Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบคอมพิวเตอร์ประเภทโน้ตบุ๊คลักษณะของ PAMCIA มีรูปทรงสี่เหลี่ยม บาง มีขนาดใหญ่และหนากว่าบัตรเครดิตไม่มากนัก

รูปที่ 5 ภาพแสดงการ์ด PCMCIA
ข้อดีคือ
            1.สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ง่าย
            2. ติดตั้งได้ง่ายเพียงแค่เสียบการ์ดชนิดนี้เข้าไปกับพอร์ตที่รองรับก็สามารถใช้งานได้ทันที
            3. สามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก และเร็วกว่าโมเด็ม
            ข้อเสีย
            1. มีราคาแพง
            2. ต้องใช้กับอุปกรณ์เฉพาะเท่านั้น





7.6 การเลือกใช้งานโมเด็ม
            ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ทุนทรัพย์ ความสะดวกการใช้งาน คอมพิวเตอร์เป็นรุ่นเก่าก็ควรใช้แบบ Internal และหากมีแต่ Slot ISA ก็ต้องเลือกแบบ ISA Internal หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับเคลื่อนอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบภายนอก แต่ก็ต้องดูด้วยว่า ISP (Internal Service Provider) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ที่ใช้นั้นรองรัยมาตรฐานแบบไหนแต่ที่แน่นอนว่าในปัจจุบันจะเลือกซื้อโมเด็ม ก็ต้องเลือกให้มีมาตรฐาน V.90

7.7 การติดตั้งโมเด็ม
            การติดตั้งโมเด็มแบบภายนอก
            1. ที่ด้านหลังของโมเด็มจะมีช่องให้เสียบสายโทรศัพท์ Serial Cable และ Adapter อยู่

รูปที่ 6 ช่องเสียบสายเคเบิลของโมเด็ม
            2. ส่วนมากเคเบิ้ลที่จะใช้กับโมเด็มแบบภายนอกมีอยู่ 2 ชนิดคือ CABLE แบบ 9 pin (DB9) กับ แบบ 25 pin (DB25)


รูปที่  7 แสดงสายเคเบิลแบบ DB9, Db25

           
3. ให้นำสายเคเบิ้ลที่เหมาะกับโมเด็มไปเสียบแล้วไขนอตให้ยึดติดกับโมเด็มไม่ต้องแน่นมาก
            4. เมื่อไขนอตเสร็จแล้วก็นำหัวของสายอีกด้านหนึ่งไปไขติดกับพอร์ตของคอมพิวเตอร์

รูปที่ 8 แสดงพอร์ตที่เชื่อมต่อกับโมเด็ม
            5. เมื่อเสร็จแล้วเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน
            6. เรียกหน้าต่าง Control Panel ขึ้นมาโดยคลิกปุ่ม Start > Settings > แล้วเลื่อนเมาส์มาที่ Control Panel คลิกเมาส์หนึ่งครั้ง สำหรับผู้ที่ใช้ Windows 95 หรือ 98 ก็ทำลักษณะเดียวกัน ดังรูป

รูปที่ 9 แสดงหน้าต่าง Control Panal
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm)


7. หลังจากเข้ามาในหน้าต่าง Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Add New Hardware สำหรับผู้ที่ใช้วินโดวส์ 95 หรือ 98 ถึงแม้หน้าต่างของ Control Panel จะแตกต่างออกไปแต่ยังใช้ไอคอนเดียวกัน ดังรูป
           
รูปที่ 10 แสดงหน้าจอการติดตั้งโมเด็ม
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm)
8. หลังจากนั้นจะขึ้นหน้าต่างในการเตรียมพร้อมเพื่อติดตั้งให้คลิกเมาส์ปุ่ม Next > ดังรูป 1.3 เสร็จแล้ววินโดวส์จะขึ้นหน้าต่างใหม่ขึ้นมาเพื่อแจ้งว่าวินโดว์จะค้นหาฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่แล้วบนเครื่องของท่านให้คลิกปุ่ม Next > ดังรูป

รูปที่ 11แสดงการหาโมเด็ม
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm)

9. ถ้าวินโดว์เจอฮาร์ดแวร์ที่อยู่บนเครื่องของท่านและยังไม่ได้ติดตั้งไดรว์เวอร์ วินโดว์จะขึ้นหน้า
จอถามว่าท่านต้องการติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่วินโดว์เจอหรือไม่ ซึ่งจะมีช้อยให้เลือกว่า จะตอบ No หรือ Yes ให้ท่านตอบ No แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป

รูปที่ 12 แสดงการหาโมเด็ม
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm)
            10. เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าต่างถามว่าท่านต้องการให้วินโดว์ค้นหาฮาร์ดแวร์ที่จะติดตั้งหรือไม่ ให้ตอบ No แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป

รูปที่ 13 แสดงการหาโมเด็ม
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm) 
11. หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกว่า ท่านจะติดตั้งอะไร ให้เลือก โมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป

รูปที่ 14 แสดงการหาโมเด็ม
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm)
12. หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกชนิด และความเร็วของโมเด็ม แต่ให้คุณคลิกปุ่ม Have Disk
ดังรูป เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าต่างให้ใส่ที่อยู่ของไดรว์เวอร์ที่จะติดตั้ง เช่น ไดรว์ A: หรือ ไดรว์ D: เป็นต้น หรือจะคลิกปุ่ม Brows เพื่อหาไดรว์เวอร์ เมื่อเลือกไดรว์ทเสร็จแล้วให้คลิก OK ตามลำดังเมื่อเลือกไดรว์เสร็จ หลังจากนั้นวินโดวส์จะทำการอ่านและก๊อปปี้ไฟล์ที่จำเป็นในการติดตั้งจากแผ่นดิสก์ หรือ ซีดีรอมลงในเครื่อง ถึงขั้นตอนนี้วินโดวส์อาจจะถามหาไฟล์จากแผ่นซีดี Windows 95,98 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมไว้ด้วย


รูปที่ 15 การเลือกโมเด็มด้วยตัวเอง
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm)
13. เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next> จะเห็นหน้าต่างที่แสดงถึงการเสร็จสิ้นการติดตั้งแล้วให้คลิกปุ่ม Finish ถือว่าจบขั้นตอนการติดตั้ง Modem แต่หน้าจอถามให้ใส่รายละเอียดของ ประเทศ ให้เลือกประเทศไทย และหมายเลข Area Code คือ 02 เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next>
เสร็จแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาเพื่อบอกว่าท่านได้ทำการติดตั้งโมเด็มเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม Finish ถือว่าเสร็จขั้นตอน ดังรูป

รูปที่ 16 เลือกพอร์ตที่จะติดตั้งโมเด็ม
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm)




รูปที่ 17 การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
(ที่มา : http://www.saraburi.go.th/knowledge/Modem.htm)

7.8 การ์ดแสดงเสียง (Sound Grad)
            เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้น การ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์จำเป็นที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน

รูปที่ 18 การ์ดแสดงเสียง
            ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และความแม่นยำของตัวอย่างได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
            - A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
            - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
            หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลงนั่นคือประสิทธิภาพของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย 
7.9 ชนิดของการ์ดแสดงเสียง
            การ์ดแสดงเสียงในปัจจุบันแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
            1. การ์ดแสดงเสียงแบบ ISA
            การ์ดแสดงเสียงประเภทนี้ในปัจจุบันนี้มีให้เห็นน้อยมาก เป็นการ์ดแสดงเสียงรุ่นเก่าที่ทางผู้ผลิตการ์ดเลิกพัฒนาไปแล้วคุณภาพของเสียงได้จากการ์ดชนิดนี้ค่อนข้างต่ำ (มี Converter 8 bit) จะสามารแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับเสียงเท่านั้นและไม่มีระบบเสียงสามมิติ

รูปที่ 19 การ์ดแสดงเสียงแบบ ISA
           
2. การ์ดแสดงเสียงแบบ PCI
            การ์ดแสดงเสียงประเภทนี้ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมากเนื่องจากประสิทธิภาพในการแสดงเสียงค่อนข้างดี – ดีมาก มีการแสดงค่าของเสียงอยู่ที่ 16 – 64 บิต จึงสามารถสร้างระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบได้ดีกว่าการ์ดแสดงเสียงแบบ ISA

รูปที่ 20 การ์ดแสดงเสียงแบบ PCI

            เมนบอร์ดปัจจุบันนี้นิยมผลิตการ์ดเสียงประเภทนี้ติดตั้งมาให้บนตัวเมนบอร์ดเลย จึงสามารถใช้งานได้สะดวก แต่ข้อเสียคือ สิ้นเปลือง Memory ของระบบ
7.10 การติดตั้งการ์ดแสดงเสียง
            การติดตั้งการ์ดแสดงเสียงก็เหมือนกับการติดตั้งโมเด็มแบบ Internal คือ เริ่มจากหา Port PCI ที่ว่างๆ และนำการ์ดแสดงเสียงมาติดตั้งลงไปและขันนอตให้แน่น เมื่อเปิดเครื่องระบบวินโดวส์จะเรียกหาไดร์ฟเวอร์ก็ทำการใส่แผ่น CD-ROM ไดร์ฟเวอร์ที่มากับการ์ดแสดงเสียง วินโดวส์จะทำการคัดลอกไฟล์ไดร์ฟเวอร์ไปให้เองหรือบางทีตัววินโดวส์มีไดร์ฟเวอร์การ์ดแสดงเสียงยี่ห้อที่ใส่ไปอยู่แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรเลยแค่เปิดเครื่องก็สามารถใช้งานได้ทันที

รูปที่ 21 นำการ์ดใส่กับพอร์ต PCI ให้ตรงช่อง




รูปที่ 20 กดให้แน่นและไขนอต ติดตั้งการ์ดแสดงเสียงเรียบร้อย
 (ที่มา : http://www4.mns.ac.th/22149/?p=54)

7.11 การเลือกซื้อการ์ดแสดงเสียง
            สำหรับการเลือกซื้อ Sound Card หรือการ์ดเสียง คงจะไม่มีข้อเสนอให้มากนัก สรุปง่ายๆ คือเลือกกันตามราคาไปเลย จะมีตั้งแต่แบบถูกๆ ราคาไม่กี่ร้อยไปจนถึงราคาเป็นหลักพัน คุณภาพของเสียงที่ได้ก็จะเป็นตามราคาด้วยเช่นกันลองพิจารณาดูเรื่องของการเพิ่มเติมหน่วยความจำในอนาคต หรือการใส่ Wave Table ได้ด้วยและขอแนะนำให้เอางบประมาณที่ตั้งไว้ เผื่อไปที่ตัวลำโพงดีกว่า เลือกลำโพงแบบที่มีซับวูฟเฟอร์ด้วยจะช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงได้มากทีเดียว


สรุปท้ายบท

            การส่งข้อมูลในปัจจุบันพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก มีการส่งข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย ข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ เช่นไฟล์ขนาดใหญ่ หรือภาพที่มีความละเอียดสูง ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องอาศัยโมเด็มที่มีประสิทธิภาพสูงในการส่ง ยิ่งโมเด็มมีความเร็วมากเท่าไหร่การส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ก็จะส่งได้เร็วมากขึ้น โมเด็มในปัจจุบัน (2548) มีความเร็วสูงสุดประมาณ 256K แล้วซึ่งในอนาคตก็คงจะเร็วกว่านี้แน่นอน โมเด็มแบบภายนอกมีความเร็วเหนือกว่าโมเด็มแบบภายในค่อนข้างมากอีกทั้งยังมีชิปประมวลผลข้อมูลภายในตัวเอง อีกด้วยจึงลดภาระการทำงานของซีพียูได้อย่างดี จึงเป็นโมเด็มที่มีประสิทธิภาพมากกว่าโมเด็มแบบภายในพื้นฐานความรู้ที่ควรมี
            1. อธิบายความหมายของการทำงานของโมเด็มได้
            2. อธิบายถึงชนิดของโมเด็มและการ์ดเสียงได้
            3. สามารถบอกถึงขั้นตอนการทำงานของโมเด็มและการ์ดเสียงได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น