วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 8 อุปกรณ์ต่อพ่วง

อุปกรณ์ต่อพ่วง คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่อพ่วงพัฒนาล้ำหน้าไปมาก
1.กล้องดิจิตอล

นวัฒกรรมทางการถ่ายภาพที่ล้ำหน้าไปไกล การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยที่เปลี่ยนการใช้ฟิมล์ 35 มม. แบบธรรมดามาเป็นการใช้ฟิล์มแบบดิจิตอล
            การทำงานของกล้องดิจิตอลคล้ายกับกล้อง 35 มม. คือ ใช้หลักการสะท้อนและตกกระทบของแสงลงบนแผ่นฟิล์มแต่กล้องดิจิตอลฟิล์มรับภาพจะทำการประมวลผลออกมาเป็นจุดสีจุดเล็กๆ เรียกว่า พิกเซล ( Pixel )
            ความพิเศษของกล้องดิจิตอลแตกต่างจากกล้องฟิล์ม คือ ผู้ถ่ายสามารถดูภาพถ่ายได้ทันทีผ่านทางหน้าจอ LCD ซึ่งจะเพิ่มความรวดเร็ว และผู้ถ่ายสามารถได้ทดสอบฝีมือตนเองได้หรือภาพไหนที่ไม่ต้องการก็สามารถลบทิ้งได้ และยังสามารถนำภาพไปใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้ด้วย
2. หน่วยความจำของกล้องดิจิตอล
            โครงสร้างพื้นฐานหน่วยความจำมีอยู่ 2 ประเภท คือ Hard Drive และ RAM เรียกอีกอย่างว่า Flash Memory หรือเป็นหน่วยความจำแบบ Soild State มีชิ้นส่วนสำคัญคือใช้เซมิคอนดักเตอร์ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้
3. หน่วยความจำสำหรับใช้กับกล้องดิจิตอล  มีดังนี้
1.     Smart Media

 



2.     Compact Flash ( Card )


 


3.     xD-Picture Card






4.     Multi Media Card ( MMC )




5.     Secure Digital Card





6.     Memory Stick




4. แฟลชไดร์ฟ ( Flash Drive )
เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 4 GB ถึง 2TB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการ

 


5. ประโยชน์ของแฟลชไดร์ฟ   คือ
·       ความจุข้อมูลสูงตั้งแต่ 128 MB  ถึง  2GB
·       ใช้เก็บข้อมูลได้ทุกประเภท
·       ใช้ได้ทุนทีกับคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คทุกเครื่องทุกระบบ
·       สะดวกในการใช้งาน
·       สามารถทำการเขียน อ่าน ลบ แก้ไข ข้อมูลในนั้นได้โดยตรง
·       มีความทนทานสูงทั้งภายนอกและภายใน
·       ข้อมูลมีความปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดการตกหล่น กระแทก หรือขูดขีด
·       พกพาสะดวก
·       เล่น MP3 ได้ (เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player)
6. ปริ้นเตอร์ ( Printer )  แบ่งออกเป็น  4 ประเภท ได้แก่
6.1 เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ( Dot  Matrix Printer )


ทำงานโดยใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ  ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใด ๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้น ๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่น ๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะสมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร

6.2 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก ( Ink-Jet Printer )



ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์
6.3 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ( Laser Printer )
ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่นหมึกมาก
 


6.4 พล็อตเตอร์ ( Plotter )

เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ
 


7.      สแกนเนอร์ ( Scanner )


เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บภาพหรือรายละเอียดจากวัตถุ โดยทำการสแกน หรือ เก็บข้อมูล และจะถูกส่งจากเครื่องสแกนเนอร์เข้าไปสู่คอมพิวเตอร์
       8.      แดง เขียว น้ำเงิน ( RGB )
การอ่านภาพสี CCD ของเครื่องอ่านภาพ โดยอาศัยโครงสร้างของแม่สี 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน ในเทคนิคที่เรียกว่า RGB
     9.      ชนิดของสแกนเนอร์
แบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆ คือ
1.      สแกนเนอร์แบบสอดแผ่น
2.      สแกนเนอร์มือถือ
3.      สแกนเนอร์แผ่นเรียบ
    10.  ปัจจัยในการเลือกซื้อสแกนเนอร์
1.      คุณสมบัติเฉพาะของสแกนเนอร์
2.      การใช้งานสแกนเนอร์
3.      เงื่อนไขการรับประกัน
4.      ความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้จำหน่าย
5.      ราคา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น